สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี
ข้อมูลทั่วไป จังหวัดจันทบุรี
• จังหวัดจันทบุรี หรือเรียกอีกชื่อว่า เมืองจันท์ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น พริกไทย ยางพารา เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านอัญมณี และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมการผจญภัยและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทั้งการเดินป่า การขี่จักรยานเสือภูเขา และการล่องแก่ง เป็นต้น
• จันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด (อายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี) ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ และที่ราบเชิงเขา ที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน
เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรกที่บริเวณหน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ “ชาวชอง” (ชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร) เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าตะวันออก บริเวณจันทบุรี ตราด ระยอง โดยเฉพาะเขตป่ารอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งรง (คือ ชื่อยางไม้ที่ได้จากต้นไม้ ใช้ทำยา) ครั่ง (คือ ชื่อเพลี้ยหอยชนิดหนึ่ง) ขี้ผึ้ง กระวาน ไม้กฤษณา หวาย จันท์ขาว อบเชยป่า ขมิ้นหอม น้ำมันยางเร่ว (เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ผลใช้ทำยา) ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าขาย ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลง เพราะถูกหักร้าง เพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน การเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นายพรานไพรต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นแรงงาน ในเมือง หรือบางส่วนยังคงทำสวนทำนากันอยู่ (ปัจจุบันชาวชองส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ)
• ต่อ มา พ.ศ. ๒๒๐๐ ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ จันทบุรี และหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา ๕ เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พล จากนั้นจึงนำกำลังพลทั้งไทย-จีน จำนวน ๕,๐๐๐ คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากการที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่ง ที่มีความเกี่ยวข้องหรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหา กรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น
• ต่อ มาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวงซึ่ง อยู่ในที่สูงเพื่อเป็นที่มั่นในการป้องกันการถูกรุกรานของญวณ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมืองจันทบุรีได้ย้าย กลับมาตั้งที่บ้านลุ่มตามเดิมเนื่องจากบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้นานถึง ๑๑ ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรี กลับคืนมา
• ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน จันทบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๓๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖,๓๓๘ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอกับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอสอยดาว อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดตราดและราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ ๕ เส้นทาง ได้แก่
๑.เส้นทางที่ ๑ ทางหลวงหมายเลข ๓ เป็นเส้นทางสายเก่า เริ่มต้นที่บางนา-กรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดชลบุรี-บางแสน-ศรีราชา-พัทยา-สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี ระยะทาง ๓๓๐ กิโลเมตร
๒.เส้นทางที่ ๒ ทางหลวงหมายเลข ๓๖ เป็นเส้นทางสายหลักในปัจจุบัน เริ่มต้นที่ กิโลเมตรที่ ๑๔๐ ถนนสุขุมวิท อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกกระทิงลาย ผ่านสนามแข่งรถพีระเซอร์กิต และสิ้นสุดที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๑๐๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๓๐๘ กิโลเมตร
๓.เส้นทางที่ ๓ ทางหลวงหมายเลข ๓๔๔ เส้นบ้านบึง-แกลง เป็นเส้นทางสายหลักอีกหนึ่งสาย ซึ่งช่วยลดระยะทางได้ถึง ๗๐ กิโลเมตร เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๙๘ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ระยะทาง ๑๑๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ ระยะทาง ๕๘ กิโลเมตร จะถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทาง ๒๖๖ กิโลเมตร
๔.เส้นทางเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคตะวันออก เริ่มต้นกิโลเมตรที่ ๒๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เลี้ยวขวากิโลเมตรที่ ๒๓๐ จังหวัดสระแก้ว เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๑๗ ระยะทาง ๑๘๙ กิโลเมตร ผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม จนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางจากอำเภอกบินทร์บุรี-จังหวัดจันทบุรี ๒๑๙ กิโลเมตร
๕.เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ เริ่มต้นที่ถนนศรีนครินทร์ ทางหลวงหมายเลข ๗ กรุงเทพฯ สิ้นสุดที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๖ ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร และทางหลวงหมายเลข ๓ อีก ๑๐๘ กิโลเมตร รวมระยะทางกรุงเทพฯ -จันทบุรี ๒๔๘ กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง
• รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๓๕๗
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๕๑๗๙ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๔๗๖, ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๗๘
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๓
รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท เช่นกัน แต่ไม่มีรอบที่แน่นอน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔
• รถออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ถนนกำแพงเพชร
- บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถออกจากสถานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒
และมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ
- บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙
- บริษัท พรนิภา ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๒๕๖-๗
- บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๘๘๘, ๐ ๒๙๓๖ ๓๙๓๙
นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากจันทบุรีไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ นครราชสีมา ตราด ระยอง สระแก้ว สระบุรี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตาก รายละเอียดติดต่อสถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๒๑๙๗
• ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอท่าใหม่ ๑๑ กิโลเมตร
อำเภอมะขาม ๑๒ กิโลเมตร
อำเภอขลุง ๒๔ กิโลเมตร
อำเภอแหลมสิงห์ ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอนายายอาม ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอโป่งน้ำร้อน ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอสอยดาว ๗๒ กิโลเมตร
อำเภอแก่งหางแมว ๗๘ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ ๓๐ กิโลเมตร
• ระยะทางจากอำเภอเมืองจันทบุรีไปยังจังหวัดต่าง ๆ
ตราด ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๑๐ กิโลเมตร
พัทยา ๑๗๕ กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๓๙๓๓ ๐๑๐๓
สถานีขนส่ง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๒๙๙
โรงพยาบาลขลุง โทร. ๐ ๓๙๔๔ ๑๖๔๔
โรงพยาบาลเขาสอยดาว โทร. ๐ ๓๙๓๘ ๑๓๗๖-๗
โรงพยาบาลตากสิน โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๑๔๖๗-๗๐
โรงพยาบาลท่าใหม่ โทร. ๐ ๓๙๔๓ ๑๐๐๑-๒
โรงพยาบาลสิริเวช โทร. ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๓๙, ๐ ๓๙๓๔ ๔๒๔๔-๔๕
โรงพยาบาลพระปกเกล้า โทร. ๐๓๙๓๒ ๔๙๗๕
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๑๑๑
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๑๑๕๕
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว (สทจ.) โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๒๕๖๗
ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองจันทบุรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๐๒๒๔
แผนที่จันทบุรี
แผนที่ตัวเมืองจันทบุรี
ข้อมูลท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
• ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้ง อยู่บนถนนท่าหลวง บริเวณหน้าค่ายตากสิน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลา หรือหมวกยอดแหลม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งในแต่ละวันจะมีประชาชนมาสักการะบูชาเป็นจำนวนมาก และในวันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ จัดให้มีการทำบุญตักบาตรและถวายเครื่องราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
• ศาลหลักเมืองจันทบุรี ตั้งอยู่ถนนท่าหลวง ตรงข้ามกับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไม่ปรากฏหลักฐาน ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เป็นเพียงการสันนิษฐานว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งที่เสด็จเข้าเมืองจันทบุรีเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เพื่อใช้เมืองจันทบุรีเป็นที่รวบรวมไพร่พล ศาสตราวุธยุทธภัณฑ์ และเสบียงอาหาร เพื่อไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ตัวศาลเดิมน่าจะสร้างด้วยศิลาแลงซึ่งยังปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่แต่ก็ชำรุด โทรมไปมากจนไม่อาจทราบว่ามีรูปทรงอย่างไร ส่วนหลักเมืองและตัวศาลนั้นสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ และได้มีการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคาร และปรับภูมิทัศน์โดยรอบให้มีความงดงามสมศักดิ์ศรีของเมือง
• พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่ในบริเวณสวนสาธารณะทุ่งนาเชย ถนนท่าหลวง เยื้อง กับศาลากลางจังหวัด ริมถนนเลียบเนิน มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่ ทุกช่วงเช้าและเย็นจะมีประชาชนจำนวนมากนิยมมาออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ สภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้ความร่มรื่นและสวยงาม มีการขุดบึงล้อมรอบซึ่งใช้เป็นที่เพาะพันธุ์ปลาของประมงจังหวัด เกาะกลางบึงประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้า พร้อมทหารคู่พระทัยทั้งสี่ คือ พระเชียงเงิน หลวงพิชัยอาสา หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับการกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงเลือกจังหวัดจันทบุรี เป็นที่รวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
• ถนนอัญมณี เป็นคำเรียกขาน หมายถึง บริเวณถนนศรีจันท์และตรอกกระจ่าง นับเป็นถนนเศรษฐกิจของจังหวัด เพราะเป็นที่ตั้งของร้านเจียระไนพลอยและร้านค้าอัญมณีต่าง ๆ ซึ่งอาจนับได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นตลาดค้าพลอยเจียระไน ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในวันศุกร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ -๑๕.๐๐ น. ยังสามารถเห็นบรรยากาศการซื้อขายพลอยของบรรดานายหน้าและพ่อค้าพลอย ที่เดินทางมาจากที่ต่าง ๆ กันทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองจันทบุรี ซึ่งไม่อาจพบได้ในจังหวัดอื่น
• วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่บนถนนตรีรัตน์ ห่างจากโรงแรมเค.พี.แกรนด์ ประมาณ ๕๐๐ เมตร จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม มีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง ๔ ด้านแต่ละด้านมีช่องทางเข้า ฉนวนด้านหลังมีเสารองรับ ๕ ต้น ไม่มีบัวหัวเสา ฐานอาคารเป็นเส้นตรง มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็กอยู่ภายในกำแพงแก้ว ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพต้นไม้ประเภทบอนไซและดอกไม้แบบจีน เรื่องทศชาติ และพุทธประวัติ ลักษณะการเขียนน่าจะเป็นจิตรกรรมที่เขียนขึ้นหลังรัชกาลที่ ๓ ลงมาเนื่องจาก มีชาวต่างชาติปรากฏเป็นจำนวนมากในภาพวาด
• วัดคาทอลิกจันทบุรี หรือ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ถนนสันติสุข ตำบลจันทนิมิตร เป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง ๒๗๕ ปี ครั้งแรกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๕๔ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี โดยคุณพ่อเฮิ้ต โตแลนติโน และบรรดาคาทอลิกชาวญวน จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้มีการย้ายวัดมาสร้างบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรีอันเป็นสถานที่ตั้ง ในปัจจุบัน โดยมิได้มีการบันทึกถึงสาเหตุของการย้ายแต่ประการใด และในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ก่อสร้างวัดหลังปัจจุบันขึ้นให้มีขนาดใหญ่กว่าวัดหลังเก่า เพื่อรองรับกับจำนวนคริสตศาสนิกชนที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค ภายในตกแต่งด้วยกระจกสีที่เรียกว่า สเตนกลาส เป็นภาพนักบุญต่าง ๆ ซึ่งมีความงดงามและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มีการจัดงานฉลองวัดคาทอลิกจันทบุรีครบรอบ ๗๕ ปี ขึ้นในปีดังกล่าวด้วย นับได้ว่าวัดคาทอลิกแห่งนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีความเก่าแก่และกล่าวกันว่า มีความงดงามมากที่สุดในประเทศ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๗.๓๐-๑๗.๓๐ น. การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๕๗๘
• การเดินทาง สามารถ เข้าทางเดียวกับวัดไผ่ล้อม เมื่อถึงวัดไผ่ล้อมแล้วเดินทางต่อไปอีกราว ๑ กิโลเมตร หรือจากตัวเมืองเดินทางข้ามสะพานวัดจันท์ไปตามถนนจันทนิมิตรจะพบทางแยกขวาไป โบสถ์คาทอลิก
• วังสวนบ้านแก้ว ตั้ง อยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ห่างจากตัวเมือง ๖ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๖ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๑๑ รวม ๑๘ ปี พระองค์ทรงใช้ที่นี่เป็นที่ดำเนินงาน ทั้งเป็นที่ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่างแก่พสกนิกรในพื้นที่นำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อไป ที่สำคัญที่สุดพระองค์ทรงพัฒนาการทอเสื่อจันทบูรอันเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของ ชาวจันทบุรีให้เจริญก้าวหน้ากว่าเดิม ทรงตั้งโรงทอเสื่อขึ้น ห่างจากพระตำหนักเพียง ๒๐๐ เมตร ทรงออกแบบกระเป๋าถือและผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเสื่อกก ปัจจุบันโรงทอเสื่อชำรุดทรุดโทรม คงเหลือเฉพาะอุปกรณ์บางชิ้น เช่น เตาย้อมกก อ่างแช่กก สิ่งก่อสร้างในบริเวณวังสวนบ้านแก้ว ได้แก่ พระตำหนักใหญ่ (พระตำหนักเทา) เป็นบ้านชั้นครึ่ง ครึ่งตึกครึ่งไม้ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ทรงออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระตำหนักนี้ทรงใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และรับรองพระราชอาคันตุกะ ปัจจุบันเป็นที่รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ซึ่งแสดงถึงการใช้ชีวิต ที่เรียบง่ายแบบสามัญ พระตำหนักดอนแค (พระตำหนักแดง) เป็นอาคารทรงยุโรปสองชั้น สร้างด้วยไม้สักทองทาด้วย สีแดงคล้ำ ออกแบบโดย หม่อมเจ้า กรวิก จักรพันธุ์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เป็นบ้านพระราชเลขานุการ และรองราชเลขานุการในพระองค์
วังสวนบ้านแก้ว เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ และการเข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อล่วงหน้า โทร. ๐ ๓๙๓๓ ๕๔๐๘-๙ ต่อ ประชาสัมพันธ์
• วัดพลับ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ ห่างจากค่ายเนินวงประมาณ ๑ กิโลเมตร สังเกตป้ายบอกทางเข้าทางซ้าย ตามหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าพื้นที่ชุมชนวัดพลับและบ้านบางกะจะคงมีอายุในราว พ.ศ. ๒๓๐๐ เป็นบริเวณที่กองทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชได้ใช้พักไพร่พล สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีด้วยกันหลายสมัย เช่น ตู้พระไตรปิฎกไม้ลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย เจดีย์ทรงปรางค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ หอไตรกลางน้ำ เป็นอาคารไม้ เสารองรับหลังคาเป็นของเดิมมีเขียนลายรดน้ำปิดทอง อายุเก่ากว่าสมัยก่อนอยุธยา ได้รับการซ่อมครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เจดีย์กลางน้ำ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง รูปแบบรัตนโกสินทร์ วิหารไม้หลังคาทรงจตุรมุข ที่มีอายุนับร้อยปี ภายในประดิษฐานพระประธานปางทุกรกิริยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อครั้งเสด็จเมืองจันทบุรี และพระอุโบสถแห่งนี้ยังเคยใช้เป็นสถานที่ปลุกเสกมุรธาภิเษกในสมัยต้นราชวงศ์จักรี (มุรธาภิเษก คือ น้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษก หรือพระราชพิธีอื่น ๆ) ด้านหลังวัดเคยมี “สำซ่าง” ซึ่งเชื่อว่าเหลืออยู่ที่วัดนี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น เป็นที่เผาศพแบบโบราณ มีลักษณะเป็นหลังคาลดชั้น ๕ ชั้น ยอดแหลมมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่า (กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้านสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคา โบสถ์ วิหาร) แต่ปัจจุบันพังทลายลงไปแล้ว
• วัดทองทั่ว อยู่ริมถนนสุขุมวิท เส้นจันทบุรี-ขลุง ห่างจากตัวเมืองราว ๔ กิโลเมตร มีพระอุโบสถและเจดีย์อายุนับร้อยปี เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุเขมร ได้แก่ ทับหลังแบบถาลาปริวัติ และทับหลังแบบไพรกเมง (พ.ศ. ๑๑๕๐-๑๒๕๐) เสาประดับกรอบประตูแบบนครวัด และโกลนพระคเณศทำจากหินทรายสีขาว เป็นต้น
• โบราณสถานเมืองเพนียด ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลคลองนารายณ์ ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๓๐๐ เมตร กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจและได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเรียบร้อยแล้วโดยสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้ น่าจะเป็นที่ตั้งเมืองจันทบุรียุคแรกหรือประมาณ ๑,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพงศิลาแลง และส่วนที่เป็นคันดินสูงประมาณ ๑-๓ เมตร ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทใด
• วัดโบสถ์เมือง ตั้งอยู่ริมถนนเบญจมราชูทิศ สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยสังเกตได้จากเสมาหินทรายขาว รวมทั้งอุโบสถและเจดีย์ทรงลังกา นอกจากนี้ยังมีทับหลังเป็นศิลปะบาปวนตอนปลาย พ.ศ. ๑๕๑๐-๑๖๓๐ รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว
ข้อมูลท่องเที่ยวเส้นทาง อ.แหลมสิงห์ - ท่าใหม่-หาดคุ้งวิมาน จังหวัดจันทบุรี
• อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก หรือ อู่ต่อเรือเสม็ดงาม ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง ห่างจากอำเภอเมือง ๑๑ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้เป็นอู่ต่อเรือ เมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชชาติไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ หน่วยโบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ขุดค้นซากเรือและตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดีตามริมฝั่งอ่าว พบแอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะคล้ายอู่เรืออยู่หลายแห่ง พร้อมทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเรือโบราณ และสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเรือสำเภาจีนแบบฟูเจียนขนาดเล็กใช้สำหรับบรรทุกสินค้า มีใบสามเถาใช้หางเรือเสือ ขนาดเรือยาว ๒๔ เมตร กว้าง ๕ เมตร บริเวณใกล้เคียงมีโรงเก็บเรือจำลองและเรือของชาวบ้านที่เคยใช้กันในอดีต
• การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านเสม็ดงาม เลยไปจนถึงวัดเสม็ดงาม เลี้ยวขวาตรงป้ายบอกทางเข้าไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตร
โบราณสถานค่ายเนินวง ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง บนทางหลวงหมายเลข ๓๑๔๗ หากเริ่มจากหน้า โรงแรมอีสเทอร์น ไปตามถนนท่าแฉลบอีก ๖ กิโลเมตร มีทางแยกเลี้ยวขวาไปประมาณ ๔๐๐ เมตร พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๗ โดยรื้อศิลาแลงและ อิฐของกำแพงจากเมืองเก่าจันทบุรีไปสร้าง เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกญวน บนกำแพงค่ายวางปืนใหญ่เรียงรายอยู่โดยรอบ ภายในบริเวณค่ายมีศาลหลักเมืองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และวัดโยธานิมิตรซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำเมืองตั้งอยู่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุและเครื่องปั้นดินเผา ที่ยึดได้จากเรือออสเตรเลี่ยนไทด์ที่ละเมิดน่านน้ำอ่าวไทย เพื่อลักลอบนำโบราณวัตถุออกไปยังต่างประเทศ หน่วยโบราณคดีแห่งนี้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
• พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี ตั้ง อยู่ในบริเวณค่ายเนินวง เป็นอาคารแฝด ๒ ชั้น ภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการค้าทางเรือของไทย ซึ่งมีการรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้จากการดำเนินงานด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัยทางโบราณคดีใต้น้ำมาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี โดยมีห้องแสดงหลักอยู่ที่ชั้น ๒ ซึ่งได้จัดสร้างเรือสำเภาขนาดเท่าของจริงที่ผู้ชมสามารถเดินเข้าไปชมภายในลำ เรือได้ เพื่อบอกถึงเรื่องราวการเดินเรือและการค้าขายระหว่างประเทศและยังมีห้องจัด แสดงเรือจำลองที่ใช้ในพระราชพิธี ชั้นล่างจัดแสดงให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนการลงไปสู่ใต้ท้องทะเลที่มีแสงสลัวลง และสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานของนักดำน้ำที่กำลังทำงานอยู่ใต้ท้องทะเลได้ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีห้องของดีเมืองจันท์ ที่จัดแสดงของดีต่าง ๆ ของจังหวัดจันทบุรี อาทิ การทำเหมืองพลอย การทำสวนผลไม้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเรื่องราวของชาวชอง ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจันทบุรีอีกด้วย นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ออกแบบได้ดีและน่าสนใจสำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษา
ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวันพุธ-อาทิตย์ หยุดวันนักขัตฤกษ์ เปิดตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท ติดต่อเข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อได้ที่ โทร. ๐ ๓๙๓๙ ๑๔๓๑ โทรสาร ๐ ๓๙๓๙ ๑๔๓๒
• การเดินทาง จากอำเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๑๔๖ บ้านท่าแฉลบ ผ่านโรงแรมอีสเทอร์นไป ๖ กิโลเมตร มีทางแยกไปอำเภอท่าใหม่ตรงไปประมาณ ๔๐๐ เมตร
• เจดีย์ยอดเขาพลอยแหวน อยู่ในตำบลเขาพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ บนทางหลวงหมายเลข ๓๑๗๔ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ในรัชกาลที่ ๕ โดยพระยาจันทบุรีเป็นผู้สร้างขึ้นในจุดที่สูงที่สุดของเขาพลอยแหวน เป็นเจดีย์กลมแบบลังกา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ แทนพระพุทธบาทเดิมที่แตกหัก บริเวณโดยรอบวัดเคยเป็นแหล่งขุดพลอยแห่งแรกของจังหวัดจันทบุรี
• วัดตะกาดเง้า ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าใหม่ เป็นศาสนสถานเก่าแก่มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ หอไตรกลางน้ำ เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ สันนิษฐานว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ ของหอไตรหลังนี้ถูกนำมาจากที่อื่นแล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันโดยการเข้าสลักไม้ ต่อมาหอไตรได้ทรุดโทรมลง ประชาชนได้ทำการบูรณะซ่อมแซมจนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๔๔ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกหลายชิ้น เช่น พระประธานแกะสลักจากไม้ ธรรมมาสน์ไม้ เป็นต้น
• วนอุทยานเขาแหลมสิงห์ ตั้ง อยู่ในพื้นที่ หมู่ ๑ ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ พื้นที่ทั้งบกและทะเล รวมกัน ๙,๕๐๐ ไร่ สภาพป่าเป็นแบบดงดิบแล้งและป่าชายหาดซึ่งมีพันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ กฤษณา กระบก ตะแบก หว้า ตีนเป็ด สัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ ลิงแสม กระจงเล็ก กระรอกบินสีส้ม ไก่ป่าและนกนานาชนิด ส่วนพืชและสัตว์ทะเลจะพบตามชายหาดและเกาะต่าง ๆ
• เขาแหลมสิงห์ เป็น ภูเขาขนาดเล็ก สูงจากระดับน้ำทะเลราว ๑๗๒ เมตร เหตุที่เรียกว่าเขาแหลมสิงห์ เนื่องจากด้านหน้าเขามีหินเป็นเกาะแก่งยื่นล้ำไปในทะเลรูปคล้ายสิงห์หมอบ มีหัว ลำตัว หาง เท้าและดวงตา บนเขาเป็นที่ตั้งของ ป้อมไพรีพินาศ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการตั้งชื่อ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังมิได้เสวยราชย์เสด็จ ประพาสเมืองจันทบุรีจึงได้พระราชทานนามให้ และใกล้ ๆ กับป้อมแห่งนี้มีพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวเมืองจันทบุรีได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการที่ทหารฝรั่งเศสที่แหลมสิงห์ได้ถอนตัวออกจาก จันทบุรี
จากที่ทำการบนเขามองเห็นทิวทัศน์ชายทะเลกว้างไกล และยังเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์อัสดงได้อย่างสวยงามมีทางเดินลงไปยัง หาดอ่าวกระทิง ซึ่งเป็นชายหาดเล็ก ๆ ที่สวยงามและเงียบสงบ หาดทรายสีเหลืองนวล อาจเช่าเรือจากชายหาดแหลมสิงห์ไปประมาณ ๒๐ นาที หรือเดินทางโดยเส้นทางสายท่าใหม่-บางกะไชย มาถึงที่ทำการวนอุทยาน ระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร แล้วเดินเท้าลงไปที่หาดระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร ไม่มีที่พักบริการ แต่สามารถนำเต็นท์มากางพักแรมได้
• เกาะนมสาว ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๕๐ ไร่ มีพันธุ์ไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติหนาแน่น ทางด้านใต้ของเกาะเป็นหน้าผาสูงชัน และทางด้านทิศเหนือเป็นชายหาดและมีแนวปะการังยาวประมาณ ๕๐๐ เมตร เหมาะแก่การดำน้ำชมปะการัง การเดินทาง ไปเกาะนมสาวต้องไปขึ้นเรือโดยสารที่ท่าเรือแหลมสิงห์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔๕ นาที อัตราค่าบริการไป-กลับ ๔๐๐ บาท จุได้ ๘-๑๐ คน บนเกาะไม่มีบ้านพักและร้านอาหาร นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอุปกรณ์ยังชีพไปเอง จึงไม่สะดวกต่อการพักแรม
• อ่าวยาง เป็นชายหาดเล็ก ๆ อยู่ใกล้กับอ่าวกระทิง มีบรรยากาศร่มรื่น มีบ้านพักและร้านอาหารของเอกชนบริการ อาจเช่าเรือจากหาดแหลมสิงห์ไปประมาณ ๓๐ นาที หรือทางรถยนต์ใช้เส้นทางสายท่าใหม่-บางกะไชย ถึงปากทางเข้าอ่าวยาง ระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านพักและร้านอาหารบริการมีเพียงแห่งเดียว คือ อ่าวยาง รีสอร์ท ๔๓/๒ หมู่ ๑ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๖๐๓๒, ๐ ๓๙๔๕ ๖๗๗๘ มีบ้านพัก จำนวน ๑๖ หลัง ราคา ๑,๕๐๐-๓,๐๐๐ บาท
• เกาะจุฬา เป็นเกาะขนาดเล็ก มีปะการังที่สวยงาม การเดินทาง เช่าเรือจากหาดแหลมสิงห์ ใช้เวลาเพียง ๓๐ นาที บนเกาะไม่มีบริการที่พักและร้านอาหาร
• การเดินทาง สู่วนอุทยานเขาแหลมสิงห์ สามารถใช้เส้นทางได้สองเส้นทาง เส้นทางแรก ลงเรือข้ามฟากจากอำเภอแหลมสิงห์มาขึ้นที่หาดกระทิง ค่าโดยสารคนละ ๑๐ บาท แล้วเดินเท้าอีกประมาณ ๔๐๐ เมตร จะถึงวนอุทยานฯ เส้นทางที่สอง เป็นเส้นทางที่สะดวก คือ อำเภอท่าใหม่-บางกะไชย ระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เส้นทางนี้จะผ่านวัดเขาแหลมสิงห์ ตัดขึ้นภูเขาไปจนถึงที่ทำการ
• หาดคุ้งวิมาน อยู่ในเขตอำเภอนายายอาม ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๕๐ กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ ๓๐๑ เลี้ยวซ้ายไปอีก ๑๘ กิโลเมตร เป็นหาดทรายยาวเหมาะแก่การพักผ่อน ริมหาดมีที่พักบริการ ช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเป็นช่วงที่เหมาะเดินทางมาท่องเที่ยว
แหลมเสด็จ-อ่าวคุ้งกระเบน ห่างจากอำเภอท่าใหม่ ๒๕ กิโลเมตร ไปตามเส้นทางท่าใหม่-บ้านหมูดุด เป็นชายหาดที่มีความสวยงามและมีบรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่นด้วยสนทะเลและพันธุ์ไม้ชายหาดนานาชนิด เหมาะสำหรับการมาตั้งแคมป์พักแรม โดยทางกรมป่าไม้มีเต็นท์ให้เช่า พักได้ ๒-๔ คน ราคา ๘๐-๑๒๐ บาท/คืน ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ มาเอง เสียค่าพื้นที่ตั้งเต็นท์ ราคา ๒๐ บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน โทร. ๐ ๓๙๓๖ ๙๒๓๗ และในบริเวณเดียวกันยังเป็นที่ตั้งของ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำเค็ม ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-วันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น., วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๓๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๓๙๓๘ ๘๑๑๗ ต่อ ๑๓๐
• ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์ฯ ที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี ๒๕๔๕ รางวัลประเภทรายการนำเที่ยว ประเภทองค์กรส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ศูนย์ฯ นี้มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดจันทบุรี โครงการหนึ่งที่ศูนย์ทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาสภาพธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเข้าใจระบบนิเวศในป่าชายเลนและรู้จักใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ สะพานเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน ตั้งอยู่ตรงข้ามศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ใช้เวลาเพียง ๓๐-๔๕ นาที บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง ๑,๖๐๐ เมตร ทอดผ่านป่าชายเลนที่มีพันธุ์ไม้หลายชนิด จะทำให้ได้รับความรู้ และความประทับใจในธรรมชาติ มีจุดสื่อความหมายธรรมชาติอยู่ตามบริเวณจุดต่าง ๆ ของสองข้างทาง ทำให้ทราบความสำคัญของป่าชายเลนนอกจากจะช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ชายฝั่งแล้ว ยังทำให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งทะเลได้อย่างยั่งยืน เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำ และแหล่งอาหารธรรมชาติ ตลอดจนแหล่งสมุนไพรสำหรับชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบอีกด้วย
นอกจากนี้จะเข้าใจได้ว่าไม้หลากชนิดในป่าชายเลนเกื้อกูลกันอย่างไร และมีประโยชน์กับเราอย่างไร อย่างเช่น ลำพูทะเล ที่งอกได้ดีในดินปนทราย จะเป็นผู้สะสมดินเลนทะเลเพื่อเตรียมพื้นที่ให้ไม้อื่นได้งอกงามและก่อ ประโยชน์เป็นทอด ๆ ต่อกันไป ไม้แสมขาว นอกจากทำเป็นฟืนได้ หากแก่นยังนำไปต้มกับแก่น แสมสาร (ขี้เหล็กป่า) ช่วยขับโลหิตเสียของสตรีได้ กระพี้ เป็นยาแก้พิษงู ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของ ต้นตาตุ่มทะเล ใช้รักษาโรคเรื้อนได้ดี ประสักดอกแดง ที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งลำต้น ฝักนำมาเชื่อมทานได้ เนื้อไม้แข็งใช้ทำฟืน เครื่องมือประมง หรือสร้างบ้าน และเปลือกนำมาย้อมหนังได้ ไม้โกงกาง นอกจากนำมาผลิตถ่านคุณภาพดีที่ให้ความร้อนสูงถึง ๗,๓๐๐ แคลอรี่ต่อกรัม คุนานและมีขี้เถ้าน้อย ยังนำมาทำเยื่อกระดาษได้ เปลือกเมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง อาเจียน และเปลือกตำละเอียดนำมาพอกแผลสด ห้ามเลือดได้ดี ในป่าชายเลนแห่งนี้ยังมีไม้อีกหลายชนิดที่นำมาทำประโยชน์ได้อีกมหาศาล ยังมีความรู้ ความงดงามจากธรรมชาติอีกมากมายที่จะได้รับจากสถานที่แห่งนี้ถ้าท่านตั้งใจจะ ไปสัมผัสอย่างแท้จริง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๖.๓๐-๑๘.๐๐ น. การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีบริการบ้านพักสำหรับบริการหน่วยงานรัฐที่ไปจัดอบรม สัมมนาด้วยโดยต้องติดต่อล่วงหน้า โทร. ๐ ๓๙๓๖ ๙๒๑๖-๘ โทรสาร ๐ ๓๙๓๖ ๙๒๑๙
• เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่าวคุ้งกระเบน อยู่ห่างจากอำเภอท่าใหม่ ๑๕ กิโลเมตร เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว เป็นพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ปัจจุบันมีต้นไม้เบิกนำขึ้นมาทดแทนไม้ดั้งเดิม สภาพป่าเป็นป่า ๔ ชนิดในพื้นที่เดียวกัน ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายหาด และป่าชายเลน นอกจากนี้ทางเขตฯ ได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ผ่านจุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของหาดเจ้าหลาวและปากน้ำแขมหนูได้ ใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง
• หาดเจ้าหลาว อยู่ ห่างจากอำเภอท่าใหม่ ๑๙ กิโลเมตร ถัดมาจากหาดแหลมเสด็จ มีบรรยากาศเงียบสงบ เป็นหาดทรายสีนวล ยาวเหยียดสุดสายตา ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าว ผู้คนนิยมไปพักผ่อนกันที่นี่ในวันหยุด มีที่พักตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงระดับมาตรฐาน และร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีเรือท้องกระจกและเรือเร็วบริการนำนักท่องเที่ยวไปชมแนว ปะการังน้ำตื้นที่อยู่ห่างจากฝั่งไปเพียง ๒ กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่ายนัก เพราะโดยปกติแล้วปะการังจะเกิดในบริเวณที่เป็นเกาะเท่านั้นเนื่องจากมีการ ไหลเวียนของกระแสน้ำพอเหมาะ อุณหภูมิเหมาะสม และไร้มลพิษ การพบปะการังบริเวณใกล้แนวชายฝั่งจึงสะดวกต่อการเดินทางไปชมใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมงเท่านั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว คือระหว่างเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม ทั้งนี้สามารถหาเช่าเรือท้องกระจกได้ที่ หาดทรายทอง รีสอร์ท โทร. ๐ ๓๙๓๖ ๙๐๘๐, ๐ ๑๙๔๕ ๖๗๒๓ มีบริการให้เช่าเรือชมปะการัง จุได้ประมาณ ๖-๑๒ คน ราคา ๗๐๐-๑,๒๐๐ บาท และ หาดสวย รีสอร์ท โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๖๒๒๐
• การเดินทาง ไปยังหาดคุ้งวิมาน หาดคุ้งกระเบน หาดแหลมเสด็จ และหาดเจ้าหลาว สามารถเข้าถึงได้สองเส้นทาง คือ จากถนนสุขุมวิทก่อนถึงตัวเมืองจันท์ราว ๓๐ กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ ๓๐๑ มีทางแยกขวาไปตามทางหลวง ๓๓๙๙ และจะพบป้ายทางแยกไปหาดต่าง ๆ เป็นระยะ และอีกเส้นทางหนึ่งคือ จากตัวเมืองเดินทางไปอำเภอท่าใหม่ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร ต่อด้วยเส้นทางที่ไปเขื่อนวังโตนดและเลยไปจนถึงชายทะเลได้เช่นกัน
• สวนรุกขชาติชายหาดแหลมเสด็จ ห่างจากอำเภอท่าใหม่ ๒๕ กิโลเมตร เป็นชายหาดขนาดเล็กที่มีความสวยงาม ร่มรื่นด้วยเงาของสนทะเลและพันธุ์ไม้ชายหาดนานาชนิด
ข้อมูลท่องเที่ยวเส้นทางระยอง-จันทบุรี : จันทบุรี-น้ำตกกระทิง จังหวัดจันทบุรี
เส้นทางระยอง - จันทบุรี
• อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำประแสร์ แม่น้ำสายหลักของจังหวัดระยอง มีพื้นที่ประมาณ ๘๓ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมกิ่งอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง และอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
• สถานที่น่าสนใจในบริเวณอุทยานฯ ได้แก่
• ถ้ำเขาวง อยู่บ้านเขาวงกต ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งเขาหินปูน และป่าดงดิบ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ต้นจันทน์ผา ซึ่งปัจจุบันนี้นับเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมาก สัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่นี่ คือ เลียงผา
จุดเด่นของที่นี่คือมีการสำรวจพบถ้ำถึง ๘๐ กว่าแห่ง ถ้ำที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีประมาณ ๒๐ ถ้ำ แบ่งเป็น ๓ โซน ถ้ำทั้งหมดมีทางเชื่อมถึงกัน ใช้เวลาเพียงวันเดียวก็เที่ยวทั่ว สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้จากหน่วยพิทักษ์อุทยานที่เขาวง การเข้าชมถ้ำควรนำไฟฉายติดตัวไปด้วยเนื่องจากในถ้ำไม่มีแสงสว่าง บางถ้ำมีประวัติที่พิสดาร เช่น “ถ้ำโรงบ่อน” เมื่อสมัยก่อนประกาศเป็นอุทยานฯ พ.ศ. ๒๕๑๘ ชาวบ้านมักจะแอบมาเล่นการพนันที่นี่เพราะลับตาตำรวจ บางถ้ำระหว่างทางที่เดินไป จะได้สัมผัสธรรมชาติจริง ๆ เช่น “ถ้ำลอด” ต้องลุยน้ำปริ่มเข่าเข้าไปจนถึง จุดเด่นของถ้ำคือ น้ำที่ไหลลงมาจากผาเหมือนน้ำตกน้อย ๆ ในถ้ำ “ถ้ำชุมแสง” จะสวยงามมากเมื่อต้องแสงอาทิตย์ยามบ่าย และยังมี “ถ้ำละคร” ซึ่งมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก จนชาวบ้านบางครั้งยังขึ้นมาขุดขี้ค้างคาวไปใช้เป็นปุ๋ยใส่ต้นเงาะ ทุเรียนในสวน แต่เนื่องจากถ้ำละครอยู่ใกล้จึงมีคนมาเที่ยวมาก ถ้ำจึงทรุดโทรม นักท่องเที่ยวบางคนชอบหักหินงอกหินย้อยเล่น ผนังถ้ำจึงเป็นรอยอยู่ทั่วไป โดยที่ไม่ทราบว่าคราบเหงื่อ หรือไขมันที่ผิวหนังจะทำให้แคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลไซต์ไม่สามารถเชื่อมติด กันได้ ฉะนั้นเพียงเราสัมผัสเบา ๆ ที่หินงอกหินย้อยนั้นก็อาจทำให้มันไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือตายไปนั่นเอง
นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัด เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เริ่มจากที่ทำการอุทยานฯ-น้ำตกวังมัจฉา ระยะทาง ๒ กิโลเมตร ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง ควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก่อนเดินทาง
ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานฯ ในฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ ๓,๐๐๐ มิลลิเมตร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศเย็นสบาย และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๖-๒๗ องศาเซลเซียส เดินทางไปตามเส้นทางระยอง-จันทบุรี ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรีราว ๔๐ กิโลเมตร แยกซ้ายจากถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ ๒๘๘ เข้าทางหลวงหมายเลข ๓๓๔๔ บริเวณตลาดนายายอามเป็นระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๒๐๐ บาท เด็ก ๑๐๐ บาท
สถานที่พัก อุทยานฯ มีบริการ บ้านพัก ไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน ๖ หลัง พักได้ ๔-๗ คน ราคา ๘๐๐- ๑,๖๐๐ บาท ค่ายพักแรม พักได้ ๓๐ คน ราคา ๓,๐๐๐ บาท และมีเต็นท์ให้เช่า พักได้ ๒-๔ คน ราคา ๑๕๐-๕๐๐ บาท ในกรณีที่นำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคา ๓๐ บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง โทร. ๐ ๓๘๘๙ ๔๓๗๘ หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ หรือ www.dnp.go.th
เส้นทางอำเภอเมือง - น้ำตกกระทิง
• ฟาร์มจระเข้-สวนสัตว์ชำโสม ตั้งอยู่ที่บ้านชำโสม ตำบลแสลง อำเภอเมือง เดินทางไปตามถนนสุขุมวิทถึงกิโลเมตรที่ ๓๒๔ เลี้ยวตรงสี่แยกเขาไร่ยา ทางไปน้ำตกกระทิง ทางหลวงหมายเลข ๓๒๔๙ ระยะทาง ๔ กิโลเมตร อยู่ด้านขวามือ เป็นศูนย์รวมพันธุ์จระเข้น้ำจืด และจระเข้น้ำกร่อยหลายชนิดนับพันตัว และมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น กวาง นกกระจอกเทศ เป็นต้น บริเวณรอบฟาร์มเป็นสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ สละ มังคุด และกระท้อน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๓๐ น. ค่าเข้าชมชาวไทย ผู้ใหญ่ ๓๐ บาท เด็ก ๒๐ บาท ชาวต่างประเทศ คนละ ๖๐ บาท รายละเอียดสอบถามได้ที่ โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๔๒๔๗, ๐ ๓๙๓๗ ๓๒๕๖-๗
• วัดเขาสุกิม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญภาวนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป วัดมีบริเวณกว้างขวาง อยู่สูงขึ้นไปบนเนินเขา มีพื้นที่ประมาณ ๓,๒๘๐ ไร่ ภายในวัดมีศาสนสมบัติ ศาสนวัตถุ และวัตถุโบราณล้ำค่าต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีโรงเรียน โรงพยาบาลที่พระอาจารย์สมชายได้สร้างให้เป็นสมบัติของทางราชการด้วย มีการจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไปกว่า ๒๐ ท่าน เช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่วัน พระอาจารย์มั่น ฯลฯ เปิดให้เข้าชม ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๖.๓๐-๑๗..๐๐ น. ผู้สนใจที่จะพักที่วัด(ทั้งผู้ที่ไปปฏิบัติธรรมหรือผู้ที่ไปพักแรม) สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ โทร. ๐ ๙๙๓๑ ๕๕๔๔
• การเดินทาง วัดเขาสุกิมอยู่ในเขตตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ ๒๐ กิโลเมตร สามารถเดินทางไปได้หลายเส้นทาง คือ จากถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ ๓๐๕ บริเวณบ้านห้วยสะท้อน มีทางแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๓๒๒ ไปวัดเขาสุกิมเป็นระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร หรือหากเลยแยกนี้ไปจะมีทางเข้าวัดได้อีกทางหนึ่งที่บ้านเนินสูงเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางไปน้ำตกกระทิงก็ได้ โดยแยกจากถนนสุขุมวิทที่บริเวณสี่แยกเขาไร่ยาเข้าไปประมาณ ๗ กิโลเมตร ถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
• อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งนี้เป็นต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำจันทบุรี สภาพป่าในบริเวณนี้มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไม้ผลัดใบ มีสมุนไพรและกล้วยไม้ป่านานาชนิด รวมทั้งมีพันธุ์ไม้หายากคือ ไม้กฤษณา เนื่องจากเป็นป่าที่อยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน จึงมีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น กระทิง เสือ หมี กวาง เก้ง เลียงผา และนกชนิดต่างๆ ตามลำห้วยมีปลาพลวง ปลาก้าง ปลาหนวด ปลาดุกรำพัน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สถานที่น่าสนใจในบริเวณอุทยาน ฯได้แก่
• น้ำตกกระทิง มี ต้นกำเนิดจากเทือกเขาคิชฌกูฏ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มี ๑๓ ชั้น ใช้เวลาเดินไป-กลับ ๓ ชั่วโมง เล่นน้ำได้ แต่ละชั้นห่างกันราว ๒๐ เมตร ชั้นที่ ๘-๙ เป็นชั้นที่สวยงามที่สุด ระหว่างทางจะผ่านป่าไผ่และพันธุ์ไม้หลากชนิด บางชั้นมีพืชจำพวกมอส เฟิร์น ขึ้นปกคลุมเต็มทั้งสองข้างทาง ลำธารดูเขียวชอุ่ม เมื่อต้นไม้ผลัดใบใบไม้สีเหลืองแกมแดงจะโรยใบปูทางเดินสวยงามยิ่ง นอกจากนี้ยังมีชายหาดขนาดใหญ่ริมธารน้ำตกที่เกิดจากทรายที่ถูกน้ำป่าพัดลงมา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ลำธารชั้นล่างของน้ำตกอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๑๐๐ เมตร การเข้าชมต้องเสียค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ ๑๐ บาท เด็ก ๕ บาท
• ยอดเขาพระบาท ประดิษฐาน อยู่บนยอดเขาคิชฌกูฎ การเดินทางเริ่มต้นที่วัดพลวงไปตามถนนที่ลาดชันมาก ระยะทาง ๘ กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร ทิวทัศน์บนยอดเขาคิชฌกูฏหรือเขาพระบาทนี้ เป็นปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาที่นำมาผูกกับตำนานทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศิลาเจดีย์ รอยพระพุทธบาท หินรูปบาตรคว่ำ ถ้ำฤาษี ลานแข่งรถพระอินทร์ หินที่มีรูปร่างคล้ายเต่าและช้างขนาดยักษ์ บนยอดเขาพระบาทซึ่งมีอากาศเย็นสบายนั้น สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเทือกเขาสระบาป เขาสุกิม เกาะนมสาว และตัวเมืองจันทบุรีได้อย่างชัดเจน เฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนถึงช่วงวันมาฆบูชาของทุกปีจะมีประชาชนขึ้นไป นมัสการรอยพระพุทธบาททั้งกลางวันและกลางคืนเป็นจำนวนมาก สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๒๐๗๔
• น้ำตกคลองช้างเซ อยู่ระหว่างทางขึ้นเขาพระบาท ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่เหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ โดยเริ่มจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เดินเป็นวงกลมแล้ววนกลับมาที่เดิม ระหว่างทางจะมีคำบรรยายเขียนไว้ ใช้เวลาในการเดินประมาณ ๓ ชั่วโมง ระยะทาง ๔ กิโลเมตร
• น้ำตกคลองกระสัน เป็นธารน้ำตกขนาดใหญ่ เล่นน้ำได้ บรรยากาศร่มรื่น อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ที่ คก. ๒ (คลองไพบูลย์) ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๘ กิโลเมตร
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๒๐๐ บาท เด็ก ๑๐๐ บาท
สถานที่พัก อุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน ๖ หลัง พักได้ ๒-๘ คน ราคา ๖๐๐-๑,๘๐๐ บาท มีเต็นท์ให้เช่าพักแรม พักได้ ๓-๖ คน ราคา ๒๕๐-๕๐๐ บาท และในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคา ๓๐ บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๒๐๗๔ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ หรือ www.dnp.go.th
• การเดินทาง ใช้ถนนสุขุมวิท เมื่อถึงสี่แยกเขาไร่ยาให้แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๔๙ ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ หรือสามารถนั่งรถสองแถวสีฟ้าสายจันทบุรี-จันทเขลม ขึ้นรถได้ที่ ที่ทำการไปรษณีย์ท่าแฉลบ ค่าโดยสาร ๒๐ บาทต่อคน หากส่งถึงน้ำตก ๓๐ บาท
ข้อมูลเส้นทางท่องเที่ยว อ.มะขาม : เขาสอยดาว : แหลมสิงห์ : ขลุง จังหวัดจันทบุรี
เส้นทางอำเภอเมือง - อำเภอมะขาม - อำเภอสอยดาว
• สวนสมุนไพรจันทบุรี ห่าง จากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ภายในมีแปลงทดลองและเรือนเพาะชำพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เพื่อนำพืชเหล่านี้ไปทำการทดลองศึกษาค้นคว้า และนำมาผลิตเป็นยารักษาโรค เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. การเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องขออนุญาตล่วงหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๓๙๔๑ ๓๑๗๗ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๘๙ ๙๘๕๐-๘ ต่อ ๙๐๔๒-๓
• เขื่อนคีรีธาร อยู่ในเขตอำเภอมะขาม ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๔๐ กิโลเมตร จากจันทบุรีเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๗ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาไปเขื่อนคีรีธารอีก ๑๔ กิโลเมตร สร้างโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นเขื่อนกั้นน้ำเอนกประสงค์ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน การประมง และการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝน มีความจุสูงสุดที่ระดับความสูง ๒๐๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล เก็บกักน้ำได้ประมาณ ๗๖ ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณอ่างเก็บน้ำมีธรรมชาติสวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ แต่บริเวณริมเขื่อนไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ
• ตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา (ช่องผักกาด) ตั้งอยู่ที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ ๔ ตำบลคลองใหญ่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโป่งน้ำร้อน ๓๐ กิโลเมตร เป็นตลาดที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นจุดผ่อนปรนที่อนุญาตให้เฉพาะชาวไทยเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวได้ เวลา ๐๗.๐๐-๒๐.๐๐ น. ตลาดนี้จะอยู่ห่างจากกรุงไพลิน ๒๐ กิโลเมตร และห่างจากเมืองพระตะบอง ๖๘ กิโลเมตร
• ตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา (บ้านแหลม) ตั้งอยู่ที่บ้านแหลม หมู่ ๔ ตำบลเทพนิมิต ห่างจากที่ว่าการอำเภอโป่งน้ำร้อน ๔๖ กิโลเมตร เป็นตลาดที่มีการค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภคตามแนวชายแดน มีการส่งเสริมอาชีพราษฎรในการทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปและนักท่องเที่ยว อีกทั้งสามารถเดินทางเข้าไปซื้อสินค้าบริเวณชายแดน ของสองประเทศได้โดยสะดวกและปลอดภัย การข้ามแดนอนุญาตเฉพาะผู้ที่อยู่ในอำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาวเท่านั้น ระหว่างเวลา ๐๗.๐๐-๒๐.๐๐ น. ตลาดนี้ห่างจากเมืองพระตะบอง ๘๖ กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายความมั่นคง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๒๗๓๐
• น้ำตกหินดาด ตั้ง อยู่เทือกเขาสอยดาวใต้ หมู่ที่ ๒ ตำบลทับไทร ห่างจากที่ว่าการอำเภอโป่งน้ำร้อน ๑๐ กิโลเมตร และเดินเท้าต่ออีก ๓ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าขึ้นไปประมาณ ๒ ชั่วโมง น้ำตกมีจำนวน ๑๒ ชั้น ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่ยังคงความสมบูรณ์ ชั้นที่ ๙-๑๒ เป็นน้ำตกที่มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก การขึ้นน้ำตกต้องใช้เส้นทางเดินป่า ระยะทาง ๓ กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ ๓ ชั่วโมง การเดินทางไปท่องเที่ยวที่น้ำตกแห่งนี้ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ติดต่อได้ที่ กำนันธงชัย แพรงาม โทร. ๐ ๓๙๔๔ ๗๒๔๗, ๐ ๗๑๔๓ ๕๕๒๑
• น้ำตกเขาสอยดาว อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อำเภอสอยดาว น้ำตกอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ ๔ กิโลเมตร มี ๑๖ ชั้น บริเวณธารน้ำตกมีผีเสื้อจำนวนมากเหมาะสำหรับการดูผีเสื้อและศึกษาพรรณไม้ ซึ่งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวนั้นมีสภาพป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและสมุนไพร เช่น กระชายป่า กระวาน สัตว์ป่า ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรณ์ นกสาริกาเขียวหางสั้น สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน โดยมียอดเขาสูง ๒ ยอด คือ ยอดสอยดาวเหนือและสอยดาวใต้ ความสูงของยอดสูงสุดคือ ยอดสอยดาวใต้ อยู่ที่ประมาณ ๑,๖๗๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เป็นต้นกำเนิดของธารน้ำหลายสาย ไหลตกลงมาเป็นน้ำตกเขาสอยดาวขนาดใหญ่ ท่ามกลางป่าลึกที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ นักท่องเที่ยวจะต้องเดินเท้าเข้าไปชม ตลอดเส้นทางเดินชมน้ำตกมีทั้งความงามและความตื่นเต้นท้าทาย เช่น ชั้นน้ำตกที่ต้องปีนผาไปตามรากไทรสูงราว ๒๐ เมตร กระทั่งถึงน้ำตกชั้นบนสุดซึ่งมีขนาดสูงใหญ่ งดงามยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นน้ำตกได้ถึงชั้นที่ ๙ ระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินขึ้นเกือบ ๒ ชั่วโมง ส่วนชั้นที่ ๑๐-๑๖ ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ใช้เวลาเดินอีก ๑ ชั่วโมง บริเวณน้ำตกมีบ้านพักรับรองบริการนักท่องเที่ยว
นอกจากนี้ที่เขตรักษาพันธุ์ฯ ยังมี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ชื่อเส้น “ลีลาไทร” เริ่มจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ฯ ระหว่างเส้นทางจะพบพูพอน ไลเคน ไทร ยางแดง โป่งธรรมชาติ แต่ละเส้นทางจะมีคำบรรยายเขียนไว้ ใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง ระยะทาง ๒ กิโลเมตร
• สถานที่พัก ทางเขตรักษาพันธุ์ฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน ๓ หลัง พักได้ ๘-๗๐ คน มีเต็นท์ให้เช่าพักแรม พักได้ ๒ คน ราคา ๑๐๐ บาท/คืน ในกรณีที่นำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคา ๓๐ บาท/คน/คืน (ทางเขตรักษาพันธุ์ฯ อนุญาตให้พักแรมได ้ในบริเวณที่จัดไว้โดยจะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ก่อน) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อำเภอเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๘๐ โทร. ๐ ๑๓๘๔ ๕๑๖๔ หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ หรือ www.dnp.go.th
• การเดินทาง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๗ ที่มุ่งสู่อำเภอสระแก้ว ผ่านอำเภอโป่งน้ำร้อน ถึงกิโลเมตรที่ ๒๒ ก่อนถึงตลาดปะตงจะมีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก ๔ กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตฯ น้ำตกเขาสอยดาวอยู่ห่างออกไป ๕ กิโลเมตร เป็นทางรถยนต์ ๒.๕ กิโลเมตร และเดินเท้าต่ออีกประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือนั่งรถประจำทางจากจันทบุรี-สระแก้ว ลงที่ตลาดปะตงแล้วเหมารถสองแถวไปส่งที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวราคาประมาณ ๑๐๐-๑๕๐ บาท
เส้นทางอำเภอเมือง-อำเภอแหลมสิงห์-อำเภอขลุง
• วัดมังกรบุปผาราม หรือ วัดเล่งฮัวยี่ อยู่บนถนนสุขุมวิท เส้นทางสายจันทบุรี-ขลุง ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๑๖ กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายมหายาน มีศาลาและพระอุโบสถที่ตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสกเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างงดงาม ภายในวัดมีบรรยากาศที่เงียบสงบ และร่มรื่น เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม ซึ่งทางวัดยินดีจะอำนวยความสะดวกในด้านที่พัก
วัดแห่งนี้มีงานประจำปีที่สำคัญ ๒ งาน คือ งานบุญกฐิน จะจัดขึ้นหลังช่วงเทศกาลออกพรรษา และ งานทำบุญประจำปีของวัด ซึ่งจะจัดขึ้นหลังวันตรุษจีน ๒๑ วัน จะมีประชาชนเดินทางมาร่วมทำบุญถือศีล และพำนักที่วัดตลอดช่วงการจัดงานนาน ๗-๑๐ วัน
• อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อยู่ในเขตอำเภอแหลมสิงห์ บนเทือกเขาสระบาป มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘๔,๐๖๓ ไร่ พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่พบ เช่น ขนุนป่า กระท้อนป่า พิมเสนขึ้นอยู่ทั่วไป และยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อีกมากมาย ที่เห็นได้บ่อย คือ หมูป่า เลียงผา พังพอน กระแต หมีควาย ชะนี ลิง ฯลฯ และยังเป็นที่อยู่ของปลานานาชนิด เช่น ปลาพลวง ปลาดุก ปลาฉาก คำว่า “พลิ้ว” กล่าวกันว่าเป็นภาษาชอง ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นเดิม แปลว่า ทราย หรือ หาดทราย แต่เข้าใจกันว่า น้ำตกพลิ้วคงจะได้ชื่อมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งชอบขึ้นในดินปนทราย เป็นไม้เถามีดอกเป็นผลเล็กขนาดลูกเกด สีเหลืองอมแดง ขึ้นทั่วไปในแถบนี้ น้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปี น้ำใสมองเห็นพื้นล่าง ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย
• สถานที่น่าสนใจในบริเวณอุทยานฯ ได้แก่
• น้ำตกคลองนารายณ์ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “น้ำตกเขาสระบาป” อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ ๘ กิโลเมตร บนเส้นทางสายจันทบุรี-แหลมสิงห์ น้ำตกแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง ต้องเดินลัดเลาะผ่านป่าซึ่งยังคงความอุดมสมบูรณ์และความงดงามตามธรรมชาติ สายน้ำตกสูง ๒๕ เมตร บรรยากาศเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมท่ามกลางธรรมชาติที่เงียบสงบอย่างแท้จริง
• น้ำตกพลิ้ว ตั้ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ เพียง ๒๐๐ เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีต้นกำเนิดมาจากลำธารน้ำใต้ดินที่ผุดขึ้นตรงซอกหินบน หน้าผาแล้วไหลลงสู่แอ่งน้ำด้านล่าง น้ำใสเหมาะกับการลงเล่นน้ำ ก่อนถึงตัวน้ำตกจะมีแอ่งน้ำธรรมชาติซึ่งเป็นที่อาศัยของปลาพลวง และจะพบเฉพาะตามลำธารน้ำตกบางภาคเท่านั้น และในบริเวณน้ำตกพลิ้วยังมีโบราณสถานที่สำคัญอยู่สองแห่ง ได้แก่
- อลงกรณ์เจดีย์ สร้างด้วยศิลาแลง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จประพาสน้ำตกพลิ้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยในน้ำตกพลิ้วมาก จึงโปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและพระราชทานนามเจดีย์นี้ว่า “อลงกรณ์เจดีย์”
- ปิรามิดพระนางเรือล่ม เป็นสถูปทรงปิรามิดสร้างด้วยหินแกรนิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความรักที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีต่อพระนางเจ้าสุนันทาฯ หลังจากที่พระองค์เสด็จทิวงคตเนื่องจากเรือพระประเทียบล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในปิรามิดบรรจุพระอังคารส่วนหนึ่งของพระองค์ไว้ด้วย
• น้ำตกตรอกนอง อยู่ทางทิศตะวันตกของน้ำตกพลิ้ว ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๒๖ กิโลเมตร ไปตามถนนสุขุมวิท เส้นทางจันทบุรี-ขลุง เมื่อถึงสี่แยกอำเภอขลุง เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางสายอำเภอขลุง-อำเภอมะขาม ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านตรอกนอง ทางแยกเข้าน้ำตกอยู่ทางซ้ายมือ เข้าไปอีก ๒ กิโลเมตร จะถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯน้ำตกพลิ้วที่ ๑ (น้ำตกตรอกนอง)
น้ำตกตรองนองมี ๓ ชั้น ชั้นแรก ชื่อ “น้ำตกไม้ซี้” (ไม้ซี้ แปลว่า ต้นไผ่) อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เพียง ๕๐๐ เมตร การเดินทางไปน้ำตกชั้นนี้ต้องเดินทางผ่านอุโมงค์ป่าไผ่ มีความยาว ๕๐ เมตร ชั้นที่สอง ชื่อ “น้ำตกกลาง” ห่างจากชั้นที่ ๑ ประมาณ ๑ กิโลเมตร สภาพโดยรอบเป็นธรรมชาติอันสวยงามของพันธุ์ไม้ ดอกไม้ป่านานาชนิด และ ชั้นที่สาม คือ “น้ำตกตรอกนอง” ห่างจากชั้นที่ ๒ ประมาณ ๑ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นลำธารที่ไหลตกมาจากหน้าผาสูงประมาณ ๒๐ เมตร การเดินทางไปยังน้ำตกต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญในการนำทาง นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปชั้นบนสุดนี้ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก่อน และสำหรับผู้ที่ต้องการพักแรมท่ามกลางธรรมชาติที่เงียบสงบ สามารถนำเต็นท์มาตั้งแคมป์พักแรมได้ โดยทางอุทยานฯ น้ำตกพลิ้ว มีเต็นท์ให้เช่า พักได้ ๒ คน ราคา ๒๗๐ บาท/คืน
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๒๐๐ บาท เด็ก ๑๐๐ บาท
สถานที่พัก อุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน ๔ หลัง พักได้ ๖ คน ราคา ๑,๘๐๐ บาท ค่ายพักแรม พักได้ ๓๐ คน ราคา ๓,๐๐๐ บาท มีเต็นท์ให้เช่าพักแรม พักได้ ๒ คน ราคา ๒๗๐ บาท และในกรณีที่นักท่องเที่ยว นำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคา ๓๐ บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว โทร. ๐ ๓๙๔๓ ๔๕๒๘ หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ หรือ www.dnp.go.th
• การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๑๔ กิโลเมตร ไปตามถนนสุขุมวิท เส้นทางจันทบุรี-ขลุง กิโลเมตรที่ ๓๔๖ มีทางแยกซ้ายไปน้ำตกพลิ้ว ๒ กิโลเมตร หรือใช้บริการรถสองแถวจันทบุรี-น้ำตกพลิ้ว ค่าโดยสาร ๓๐ บาท
• พุทธอุทยานวัดชากใหญ่ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข ๓๑๔๙ แยกทางเข้า อำเภอแหลมสิงห์ จากถนนสุขุมวิทเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร มีประติมากรรมที่แสดงเรื่องราวในพุทธประวัติ และตอนแสดงธรรมโปรดบุคคลต่าง ๆ ซึ่งล้วนมีลักษณะที่สวยงาม และยังมีแผ่นป้ายอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ของประติมากรรมนั้น ๆ ด้วย
• คุกขี้ไก่ ตั้ง อยู่ใกล้ตึกแดง ที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ก่อนถึงท่าเทียบเรือ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) เมื่อฝรั่งเศสได้เข้ายึดจันทบุรี ในกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ระหว่างนั้นกองทหารฝรั่งเศสประมาณ ๖๐๐ คน แยกกันอยู่สองแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรี บริเวณที่เป็นค่ายทหารในปัจจุบัน อีกแห่งอยู่ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ฝรั่งเศสได้สร้างคุกขี้ไก่เพื่อใช้กักขังคนไทยที่ต่อต้านฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นหอสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละประมาณ ๔.๔๐ เมตร สูงประมาณ ๗ เมตร มีช่องระบายอากาศอยู่สองแถว หลังคาโปร่ง เล่ากันว่าเป็นคุกที่ทรมานมาก เพราะชั้นบนใช้เป็นที่เลี้ยงไก่ ซึ่งจะถ่ายมูลราดศีรษะนักโทษที่ถูกคุมขังตลอดเวลา
• การเดินทาง คุกขี้ไก่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓ เส้นจันทบุรี-ตราด เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๑๔๙ ก่อนถึงอำเภอแหลมสิงห์ตั้งอยู่ทางด้านขวามือ
• ตึกแดง ตั้ง อยู่ที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ บริเวณท่าเรือแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ ใกล้กับ คุกขี้ไก่ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๓๐ กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ พร้อมกับคุกขี้ไก่ เดิมเป็นที่ตั้งของป้อมพิฆาตปัจจามิตรซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้รื้อป้อมแห่งนี้ลง และสร้างตึกแดงขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักและกองบัญชาการทหารฝรั่งเศส เป็นตึกชั้นเดียว สีแดง หลังคามุงกระเบื้อง
• หาดแหลมสิงห์ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ห่างจากตัวเมือง ๓๐ กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนสุขุมวิท เส้นทางไปจังหวัดตราด ถึงกิโลเมตร ๓๔๗ มีทางแยกขวาไปหาดแหลมสิงห์อีก ๑๖ กิโลเมตร เป็นชายหาดปากอ่าวที่แม่น้ำจันทบุรีไหลมาออกอ่าวไทย ร่มรื่นด้วยทิวสนยาวไปตามแนวของชายหาด มีที่นั่งพักผ่อนพร้อมทั้งร้านจำหน่ายอาหารตั้งเรียงรายอยู่ริมหาด มีบริการด้านที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว จากบริเวณหาดมองออกไปจะเห็นเกาะจุฬา และเขาแหลมสิงห์อยู่เบื้องหน้า และในบริเวณหาดแหลมสิงห์มีเรือให้เช่าไปดำน้ำเที่ยวเกาะจุฬา เกาะนมสาว ราคาประมาณ ๑,๕๐๐ บาท
• โอเอซีส ซี เวิลด์ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอแหลมสิงห์ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๒๕ กิโลเมตร บนพื้นที่กว่า ๖๘ ไร่ เป็นสถานที่เพาะพันธุ์และอนุรักษ์ปลาโลมาในน่านน้ำจันทบุรีซึ่งมีอยู่ ๒ พันธุ์คือ พันธุ์หัวบาตร และพันธุ์หัวขวด นอกจากนี้ยังมีสวนผีเสื้อที่มีอยู่หลากหลายชนิด โดยมีวงจรชีวิตในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด และยังมีที่พักบริการให้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย
• การแสดงของปลาโลมา มีให้ชมทุกวันวันละ ๕ รอบ วันธรรมดามีรอบ ๐๙.๐๐ น., ๑๑.๐๐ น., ๑๓.๐๐ น., ๑๕.๐๐ น. และ ๑๗.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์ เพิ่มรอบเวลา ๐๗.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย เด็ก ๕๐ บาท ผู้ใหญ่ ๙๐ บาท ชาวต่างชาติ เด็กและผู้ใหญ่ ๑๘๐ บาท สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๓๙๓๙ ๙๐๑๕, ๐ ๓๙๓๖ ๓๒๓๘-๙ หรือ www.oasisseaworld.com
ข้อมูลท่องเที่ยว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
• บ่อน้ำพุร้อน อยู่ห่างจากอำเภอโป่งน้ำร้อน ๑๘ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๓๑๙๓ เป็นบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติ มีทั้งหมด ๓ บ่อ ล้อมรอบด้วยสวนลำใยและสวนทุเรียน
• สถานโบราณคดี “มนุษย์โบราณ” อยู่ห่างจากอำเภอโป่งน้ำร้อน ๒๕ กิโลเมตร กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจและขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือหินกระเทาะ เครื่องใช้ ภาชนะดินเผาและเครื่องประดับต่าง ๆ อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปี ขณะนี้ได้เคลื่อนย้ายโครงกระดูกและโบราณวัตถุต่าง ๆ ออกจากหลุมขุดแล้ว
• อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น หรือ น้ำตกน้ำเป็น ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนซ่อง มีพื้นที่ ๗๕,๐๐๐ ไร่ (ยังไม่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ) มีสถานที่น่าสนใจได้แก่ น้ำตกสะบ้า น้ำตกอีเกก และที่สำคัญ คือ น้ำตกเขาสิบห้าชั้น เป็นน้ำตก ๑๕ ชั้น ที่มีความสวยงาม มีน้ำตลอดทั้งปี การเดินทางต้องไต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ บางครั้งต้องลัดเลาะไปตามลำธาร หรือปีนหน้าผาน้ำตก สามารถกางเต็นท์ได้ที่ชั้นที่ ๖ และชั้นที่ ๑๓ เป็นชั้นที่สูงที่สุด มีความสูงประมาณ ๓๕ เมตร สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ ลิง ชะนี ช้าง กระทิง วัวแดง
นอกจากนั้นทางอุทยานฯ มีสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ โดยนักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์มาเอง จุดแรก คือ คลองมะเดื่อ จุดที่สอง คือ บริเวณน้ำตกอีเกก สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น โทร. ๐ ๙๕๕๐ ๓๖๓๙
• การเดินทาง สามารถนั่งรถประจำทางจากกรุงเทพฯ นั่งรถมาลงที่อำเภอนายายอาม แล้วมาต่อรถสองแถวที่ตลาดมาลงที่หน้าอุทยานฯ ค่ารถคนละ ๔๐ บาท หรือจะเหมารถสองแถวที่ตลาดอำเภอนายายอาม ราคาแล้วแต่จะตกลงกัน
ข้อมูล งานประเพณี สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก จังหวัดจันทบุรี
เทศกาลงานประเพณี
• งานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง จัด ขึ้นในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ ช่วงเทศกาลตรุษจีนถึงเดือนมาฆบูชา (ประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม) ณ บริเวณยอดเขาคิชฌกูฏ ตำบลพลวง อำเภอมะขาม ภายในงานมีการจัดบวงสรวงเทวดาอารักษ์ พิธีปิดทองรอยพระพุทธบาท การจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏเป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานานหลาย สิบปี โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ในอดีตจะเป็นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร แต่ในปัจจุบันมีรถบริการให้ประชาชนได้เดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท แห่งนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
• งานปิดทองพระพุทธไสยาสน์ จัดขึ้นประมาณใกล้เทศกาลตรุษจีน บริเวณวัดไผ่ล้อม มีการแสดงธรรมเทศนา และจัดแสดงมหรสพต่าง ๆ
• ประเพณีชักกะเย่อเกวียนพระบาท จัดขึ้นในช่วงใกล้เทศกาลสงกรานต์ ณ วัดตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมากว่า ๑๐๐ ปี มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และการแข่งขันชักกะเย่อเกวียนพระบาท มหรสพในช่วงกลางคืน
• งานเทศกาลของดีเมืองจันท์วันผลไม้ จัดในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีระยะเวลาในการจัดงานนาน ๑-๒ สัปดาห์ จัดที่บริเวณสนามสามเหลี่ยมทุ่งนาเชย โดยมีการประกวดรถประดับผลไม้ การประกวดธิดาชาวสวน การประกวดผลไม้ที่มีชื่อเสียงของภาคตะวันออก ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ระกำ สละ กระท้อนพันธุ์ต่างๆ การประกวดสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน การออกร้านจำหน่ายอัญมณี และการออกร้านของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอื่น ๆ อีกมากมาย
• งานตากสินรำลึก จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ ธันวาคม ถึงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมของทุกปี ที่สนามกีฬาจังหวัด เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการและการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของจันทบุรีและการประกวดนางสาวจันทบูร
• เทศกาลท่องเที่ยวเขาสอยดาว จัดขึ้นในช่วงปลายปี บริเวณจุดชมวิวที่ว่าการอำเภอสอยดาวและบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ในงานมีการนำเสนอผลผลิตทางการเกษตร สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การแสดงศิลปวัฒนธรรม การแข่งขันสอยดาว การจำหน่ายผลไม้หลักของอำเภอ ได้แก่ ลำไย มะขามหวาน เป็นต้น
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
• อัญมณี เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่ขึ้นชื่อของจังหวัดจันทบุรี มีเนื้อพลอยและเหลี่ยมคมที่งดงามซึ่งผ่านการเจียระไนจากช่างฝีมือชำนาญงาน สามารถเลือกซื้อได้ที่ศูนย์รวมอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนตรีรัตน์ ตำบลจันทนิมิตร อำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๓๐ ๓๑๑๘ หรือตามร้านจำหน่ายอัญมณีที่มีอยู่หลายร้านโดยเฉพาะบนถนนอัญมณี
• แหวนกล เป็นแหวนทองหัวประดับพลอย ตัวแหวนมักทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น กุ้ง ปู ปลา พญานาค เป็นต้น สามารถแยกออกเป็น ๔ วงได้ โดยที่ยังคล้องกันอยู่ ปัจจุบันมีช่างที่สามารถทำแหวนกลได้เพียงคนเดียวในเมืองจันท์ คือ คุณสายัณห์ ภูมิภักดิ์ ผู้สนใจติดต่อได้ที่ โทร. ๐ ๓๙๓๒ ๓๑๒๔, ๐ ๓๙๓๑ ๓๐๖๘ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนน้ำพุ หากมาจากถนนศรีรองเมืองจะอยู่ทางซ้ายมือ มีป้ายบอกว่า “แหวนกลเมืองจันท์ลุงสายัณห์”
• ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านการทอเสื่อจันทบูรหมู่บ้านเสม็ดงาม ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวเมือง ๗ กิโลเมตร ศูนย์นี้ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างงานหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วมาทอเสื่อ จัดแสดงขั้นตอนการทอเสื่อกกและลวดลายเสื่อโบราณยุคต่าง ๆ โดยนำต้นกกซึ่งมีอยู่มากในบริเวณนี้มาตากแห้งย้อมสี และทอเป็นเสื่อ หรือดัดแปลงทำเป็นกระเป๋าใส่เอกสาร และจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากต้นกก เช่น รองเท้า กระเป๋า เสื่อรองจาน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. สำหรับผู้สนใจชมการสาธิตการทอเสื่อ ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๔๓๒๑, ๐ ๓๙๔๕ ๔๓๓๓
• การเดินทาง ใช้เส้นทางถนนจันทคามวิถี ผ่านวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรีแล้วเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานไปทางวัดเกาะโตนด เลยสามแยกวัดเกาะโตนดไปประมาณ ๒๐ เมตร เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางอ่างหิน-อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก ระยะทาง ๓ กิโลเมตร
• หมู่บ้านทอเสื่อบางสระเก้า ตั้งอยู่ที่ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ ชาวบ้านที่นี่จะแสดงวิธีการทอเสื่อตั้งแต่การตากกก ย้อมสีและทอเป็นผืนโดยประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กระเป๋า กล่องใส่กระดาษเช็ดมือ ที่รองจาน ที่ใส่จดหมาย และรองเท้าแตะ และจะนำมาจำหน่ายให้กับศูนย์แปรรูปเสื่อที่บ้านคุณสุริยา แก่นจันทร์ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม และซื้อสินค้าได้ทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๘.๐๐ น. สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๐๕๘๕, ๐ ๓๙๔๕ ๐๕๘๗
• การเดินทาง ไปบ้านบางสระเก้า ตั้งอยู่ที่ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ แต่สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านเสม็ดงาม เมื่อถึงสามแยกวัดเกาะโตนดตรงมาจนถึงสามแยกวัดตะเคียนทอง เลี้ยวขวาและตรงไปอีก ๒๐๐ เมตร หรืออีกเส้นทางหนึ่งคือ จากตัวเมืองข้ามสะพานตรีรัตน์ไปยังถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาทางไปตราดประมาณ ๘ กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาไปบ้านบางสระเก้า ระยะทาง ๘ กิโลเมตร
• ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากต้นคลุ้ม เป็นงานหัตถกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดจันทบุรี โดยการนำต้นคลุ้ม ซึ่งเป็นพืชที่มีเนื้อเยื่อที่เหนียวและแข็งแรง มาจักสานทอเป็นเสื่อ กระบุง ตะกร้า มีจำหน่ายที่ศูนย์สมุนไพรและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านปึก อำเภอมะขาม
ตลาดเฟอร์นิเจอร์บ้านสวนส้ม ห่างจากอำเภอโป่งน้ำร้อน ๕๕ กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีการส่งเสริมการทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ เช่น นาฬิกาติดผนัง เก้าอี้ชุดรับแขก ตู้เสื้อผ้า โต๊ะอาหาร เปิดจำหน่ายเวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.
• ทุเรียนกวน เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีชื่อเสียง มีกลิ่นหอม รสชาติหวานกลมกล่อมตามรสชาติของทุเรียนแต่ละพันธุ์ มีจำหน่ายตามร้านขายของที่ระลึกทั่วไป
ผลไม้ - เงาะ ทุเรียน มังคุด ระกำ สละ กระท้อน เป็นผลไม้เมืองร้อน มีมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
- ลำไย เป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันมากในอำเภอโป่งน้ำร้อน ซึ่งมีสภาพอากาศเหมือนภาคเหนือ สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี โดยจะมีมากในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม
- ลางสาดชำค้อ รสหวานหอม ลูกไม่โตนัก ปลูกที่ตำบลชำค้อ อำเภอท่าใหม่ ผลออกช่วงเดือน พฤษภาคม-กันยายน
ผลไม้ต่าง ๆ สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดผลไม้เนินสูง ริมถนนสุขุมวิท และตลาดสดทั่วไป
• พริกไทย เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดจันทบุรี มีทั้งพริกไทยขาว-ดำ มีจำหน่ายตามร้านขายสินค้าที่ระลึกทั่วไป
• ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ เป็นสินค้าเอกลักษณ์ของเมืองจันทบุรี ด้วยคุณสมบัติที่มีเนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติดี เหมาะที่จะซื้อหาเป็นของฝาก มีจำหน่ายตามร้านขายสินค้าที่ระลึกทั่วไป
• ข้าวเกรียบฟักทอง ทุเรียน และเผือก เป็นสินค้าแปรรูปจากกลุ่มแม่บ้าน อำเภอโป่งน้ำร้อน มีรสชาติหวานหอม และสีสันน่ารับประทาน สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกทั่วไป
• กระดาษสอยดาว ต้นสอยดาว เป็นวัชพืชที่ขึ้นในป่าดิบชื้น และพบมากที่เมืองจันท์ เป็นไม้เนื้ออ่อน โตเร็ว กลุ่มแม่บ้านบ้านเกวียนหัก อำเภอขลุง เป็นผู้ริเริ่มที่นำเปลือกต้นสอยดาวมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นกระดาษสอยดาว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระดาษสา ต่างกันที่สีธรรมชาติเป็นสีน้ำตาลและมีความเหนียวมากกว่า ซึ่งนำมาแปรรูปเป็นซองใส่ชาหรือสมุนไพรได้ หรือจะนำมาประดิษฐ์ดอกไม้ก็ได้ ส่วนไม้เป็นเนื้ออ่อนนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้
• การเดินทาง บ้านเกวียนหัก อยู่ที่อำเภอขลุง จากขลุงไปทางเมืองจันท์ เส้นทางหลวงหมายเลข ๓ ถึง กิโลเมตรที่ ๓๕๖ พบซอยนิลโกศลทางด้านขวามือ เลี้ยวเข้าไปประมาณ ๓๐๐ เมตร
ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
• อำเภอเมือง
ไทยรุ่งเรือง ๘๒ ถนนศรีรองเมือง หน้าตลาดน้ำพุ โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๔๖๕ (จำหน่ายเสื่อ กระเป๋า กล่องใส่กระดาษทิชชู)
มีชัยเพชรพลอย ๑๕๗ ถนนขวาง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๒๔๕๒ (จำหน่ายเครื่องประดับ พลอยพื้นเมือง)
วิบูลย์สุข ๒๕ ถนนเบญจมราชูทิศ โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๐๕๓ (จำหน่ายเสื่อ ทุเรียนกวน พริกไทย ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ กะปิ)
โอฬารกนก ๑๐๒/๒๓ ถนนศรีรองเมือง โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๖๒๗ (จำหน่ายเครื่องประดับ พลอย)
• อำเภอแหลมสิงห์
สุริยา แก่นจันทร์ ๖ หมู่ ๕ ตำบลบางสระแก้ว โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๐๕๘๕, ๐ ๓๙๔๕ ๐๕๘๗ (จำหน่ายเสื่อกก กระเป๋า รองเท้า กล่องใส่กระดาษทิชชู)
• อำเภอท่าใหม่
นิวพอร์ท ถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ ๓๑๔ โทร. ๐ ๓๙๓๖ ๗๗๓๗, ๐ ๑๘๐๘ ๖๓๖๒ (จำหน่ายพริกไทยขาว-ดำ ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ กระถางดอกไม้ กระเป๋า ถ้วยกาแฟ กล่องใส่กระดาษทิชชู)
บุญชัย ทุเรียน โปรดักส์ ๔๕๑/๑ ถนนสัมปทาน โทร. ๐ ๓๙๔๓ ๑๐๔๙, ๐ ๑๒๙๕ ๙๔๐๔ (จำหน่ายทุเรียนทอด-กวน ทอฟฟี่ทุเรียน ฟักทองทอด)
แม่ละม่อม ๑๐/๘ หมู่ ๑ ถนนสุขุมวิท โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๖๔๔๙, ๐ ๓๙๔๓ ๑๑๑๐ (จำหน่ายก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ ทุเรียนทอด-กวน พริกไทยขาว-ดำ เสื่อกก กระเป๋า)
แม่ลำไย ๔๔๕/๑ ถนนศรีนวดิตถ์ โทร. ๐ ๓๙๔๓ ๑๑๕๑, ๐ ๓๙๔๓ ๑๔๘๐ (จำหน่ายก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ ทุเรียนทอด-กวน พริกไทยขาว-ดำ เสื่อกก)
แม่องุ่น ถนนสุขุมวิท โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๖๖๕๘, ๐ ๓๙๔๓ ๑๔๓๕
อาหารพื้นเมือง
• หมี่ปู (ก๋วยเตี๋ยวผัดปู) มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวผัดไทย แต่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวจันท์ผัดด้วยเครื่องแกงใส่ปูทะเล และสับปะรดซอย มีรสเข้มข้นทั้งเปรี้ยว เผ็ดและหวาน รับประทานกับถั่วงอกสด หัวปลี หรือแตงกวาซอย
• ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง และเนื้อเลียง น้ำก๋วยเตี๋ยวจะต่างจากน้ำก๋วยเตี๋ยวอื่น ๆ เพราะต้มด้วยรากเร่ว และสับปะรดทั้งหัว (หรือชิ้นใหญ่) เวลารับประทาน จะปรุงด้วยน้ำตาลอ้อย และน้ำส้มพริกขี้หนูสด
• น้ำพริกไข่ปู เป็นอาหารรสจัดมีกลิ่นและรสหวานหอมของปูทะเลต้มสุก ปรุงด้วยกระเทียมและพริกขี้หนู รับประทานกับแตงกวา และขมิ้นขาว
หมูชะมวง ปรุงด้วยหอมเผา ข่าเผา และพริกแห้งเผาโขลกละเอียดกับหมูสามชั้น ใส่น้ำปรุงรสออกหวาน และเค็ม ไม่ต้องเติมเปรี้ยว เพราะความเปรี้ยวจะเกิดจากใบชะมวงที่ฉีกออกเป็นชิ้น ๆ และนำไปเคี่ยวจนได้ที่
• ปลากระบอกต้มส้มระกำ รสชาติคล้ายต้มส้มทั่วไป เพียงแต่ใส่ระกำเปรี้ยวแทนมะนาว เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของเมืองจันท์
• ทองม้วนนิ่ม เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของ อำเภอท่าใหม่ ทำจากแป้ง มี ๒ รส คือ รสหวาน และรสเค็ม
• ข้าวเกรียบอ่อน ทำด้วยแป้งก๋วยเตี๋ยวอ่อน ห่อไส้ที่ทำจากมะพร้าว งา มีรสออกหวาน รับประทานเปล่า ๆ หรือรับประทานพร้อมเครื่องดื่มร้อน เช่น ชาร้อน โอวัลตินร้อน เพิ่มความอร่อยได้มากยิ่งขึ้น
• ก๋วยเตี๋ยวอ่อน ทำจากแป้งก๋วยเตี๋ยวอ่อน จิ้มกับน้ำจิ้มปรุงรสเปรี้ยวหวาน ใส่กุ้งเผา และผักชี
ข้อมูลกิจกรรมท่องเที่ยว จังหวัดจันทบุรี
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
• ศูนย์วิจัยพืชสวน ตั้งอยู่ที่ตำบลตะปอน อำเภอขลุง บนถนนสุขุมวิท ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๒๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๒๘๐ ไร่ มีหน้าที่รับผิดชอบในการค้นคว้าวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพืชสวนเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก มีแปลงทดลองปลูกพืชสวนชนิดต่าง ๆ อาทิ ทุเรียน เงาะ มังคุด ระกำ กระท้อน รวมไปถึงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพรและเครื่องเทศ นอกจากนั้นทางศูนย์ฯ ได้จัดเส้นทางเดินชมสวนพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ สวนสมุนไพร และพืชสวน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๓๐ นาที และได้จัดพื้นที่กางเต็นท์ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวโดยทางศูนย์มีเต็นท์ให้เช่า ราคาเต็นท์ละ ๑๐๐-๒๐๐ บาท พักได้ ๑-๓ คน ทางศูนย์ยินดีที่จะเผยแพร่งานเหล่านี้ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป โดยอนุญาตให้เข้าชมเป็นหมู่คณะ และควรติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ โทร. ๐ ๓๙ ๓๙ ๗๐๓๐, ๐ ๓๙๓๙ ๗๑๔๖ ในวันและเวลาราชการ
นอกจากนั้นระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของทุกปี จะเป็นช่วงที่ผลไม้พันธุ์ต่าง ๆ ออกผล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ระกำ สละ ลองกอง เป็นต้น ซึ่งจะมีสวนในอำเภอต่าง ๆ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ชิมผลไม้สด ๆ จากต้นและซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน ได้แก่
• อำเภอเมือง
สวนโถทอง ๑๘ หมู่ ๑๐ ต.คมบาง โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๙๓๓๙ ค่าเข้าสวนคนละ ๖๐ บาท
สวนวงษ์วิทย์ ๔๕ หมู่ ๗ ต.แสลง โทร. ๐ ๓๙๓๗ ๓๐๓๐, ๐ ๑๘๖๑ ๖๒๕๘, ๐ ๙๘๐๘ ๖๓๙๗ ค่าเข้าสวนคนละ ๖๐ บาท
• อำเภอท่าใหม่
สวนสะเด็ดยาด ๑๘๓/๑๓ ภายในสวนมีที่พัก โทร. ๐ ๒๒๗๒ ๑๐๓๐, ๐ ๒๕๗๙ ๔๘๑๔-๕ ค่าเข้าชมคนละ ๓๐ บาท
• อำเภอนายายอาม
สวนกุลพัฒน์ ๓๘/๒ ม.๖ ต.วังใหม่ กิโลเมตรที่ ๒๙๘ ถนนสุขุมวิท โทร. ๐ ๑๘๐๙ ๐๓๖๖, ๐ ๖๑๕๕ ๐๒๒๒ ค่าเข้าชมคนละ ๔๐ บาท
• กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ
กระทิงคันทรี รีสอร์ท ๒๑/๗ หมู่ ๒ ตำบลพลวง โทร. ๐ ๓๙๔๕ ๒๔๕๔-๖ ค่าเข้าชมคนละ ๑๐๐ บาท
สวนสละคุณวินัย ๗/๑๔ หมู่ ๖ ตำบลพลวง โทร. ๐ ๓๙๓๐ ๗๒๒๘, ๐ ๑๘๐๖ ๙๕๒๗
ล่องแก่ง
• ล่องแก่งโป่งน้ำร้อน อยู่ ห่างจากอำเภอโป่งน้ำร้อน ๑๘ กิโลเมตร เป็นแนวล่องแก่งธรรมชาติที่สวยงาม ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร ใช้เวลาล่องแก่ง ๒-๓ ชั่วโมง ไปตามแนวคลองโป่งน้ำร้อน ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเครือหวาย ลำคลอง มีสภาพเป็นเกาะแก่ง โขดหินธรรมชาติ ไหลคดเคี้ยวไปตามร่องเนินเขาผ่านหมู่บ้านในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อนลงสู่ราช อาณาจักรกัมพูชา แนวคลองทั้งสองฝั่งร่มรื่นเขียวขจีไปด้วยสวนผลไม้และไม้นานาพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการผจญภัยและเริ่มต้นฝึกการล่องแก่ง ความยากของแก่งอยู่ในระดับ ๒-๓ (ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำในแต่ละปี) เส้นทางที่ล่องแก่งโป่งน้ำร้อนมีความยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ใช้เวลาล่องแก่งประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง จุดเริ่มต้นของการล่องแก่งอยู่ที่หมู่บ้านเครือหวายและคลองโป่งน้ำร้อน แก่งแรกที่ผ่านมีลักษณะเป็นหินราบเรียบ สามารถมองเห็นเทือกเขาสอยดาว แก่งชะอม แก่งยาว วังน้ำอุ่น สะพานวัดใจ เป็นสะพานแขวนสลิงเล็ก ๆ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปกระโดดน้ำวัดใจได้ที่สะพานแห่งนี้ บริเวณฝายทดน้ำ และจุดสุดท้ายของการล่องแก่งคือวัดคลองใหญ่ ช่วงที่เหมาะสำหรับการล่องแก่งคือ ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน)
• นักท่องเที่ยวที่ต้องการล่องแก่งสามารถติดต่อได้ที่ วังขอน ชาเล่ต์ ๓/๘ หมู่ ๘ อำเภอโป่งน้ำร้อน โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๗๐๒๔, ๐ ๑๖๓๙ ๔๖๒๙ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๘๘๕ ๕๓๕๕ เรือล่องแก่ง นั่งได้ ๘ คน ราคา ๒,๕๐๐-๓,๙๐๐ บาท เรือแคนู นั่งได้ ๒ คน ราคา ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ บาท และ บริษัท ฟูจิ ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๔๐ ๒๙๗๑-๒, ๐ ๒๙๑๘ ๖๐๖๗-๘ เรือล่องแก่ง นั่งได้ ๘ คน ราคา ๓,๐๐๐ บาท เรือแคนู นั่งได้ ๑-๒ คน ราคา ๒๐๐ บาท/ชั่วโมง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น